วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การประกาศเมธอด

          ในโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีเมธอด แต่เมธอดหลักที่โปรแกรมจะทำงานเป็นเมธอดแรกคือเมธอด Main สำหรับโครงสร้างของโปรแกรมที่มีเมธอดหลาย ๆ เมธอดแสดงได้ดังนี้

class
{
        เมธอด Main()
        {
                สเตตเมนต์;
                ..................
        }
        
        เมธอด name1()
        {
                สเตตเมนต์;
                ..................
        }

        เมธอด name2()
        {
                สเตตเมนต์;
                ..................
        }
}

          จากตัวอย่างเป็นการสร้างเมธอดอย่างง่ายขึ้นมาสองเมธอด ชื่อว่า name1 และ name2 โดยเมธอดทั้งสองจะเขียนไว้ในคลาสของโปรแกรม สำหรับภายในเมธอดจะประกอบด้วยสเตตเมนต์ต่าง ๆ ได้ตามที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการ ในการสร้างเมธอดแต่ละเมธอดจะมีรูปแบบดังนี้

modifiers return_type method_name(parameterList)
{
        Statement;
        [return]
}

modifiers         ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ทำหน้าที่คล้ายกับการประกาศตัวแปร ถ้าหากเขียนเป็น public หมายความว่าสามารถเรียกใช้งานที่ใดก็ได้ ถ้าหากประกาศเป็น private จะเรียกใช้ได้ในคลาสเดียวกัน

return_type      เป็นส่วนที่บอกว่าเมื่อเรียกใช้เมธอดนี้แล้วจะมีการคืนค่าหรือไม่ และคืนค่าเป็นข้อมูลประเภทใด ถ้าหากไม่มีการคืนค่าจะใช้คำว่า void แต่ถ้าหากมีการคืนค่าจะต้องระบุเป็นประเภทของข้อมูลที่จะคืนออกมา เช่น int, bool, double เป็นต้น

method_name  เป็นชื่อของเมธอด การตั้งชื่อจะเป็นไปตามกฎการตั้งชื่อของตัวแปร แต่โดยมากแล้วมักจะใช้ตัวอักษรตัวเล็กในการตั้งชื่อ

parameterList   เป็นส่วนที่ใช้ผ่านค่าเข้าไปในเมธอด ถ้าหากมีการผ่านค่าเข้าไปหลายตัวจะใช้เครื่องหมาย , คั่น ถ้าหากเมธอดไม่มีการผ่านค่าจะไม่มีส่วนนี้

return                เป็นคำสั่งที่อยู่ท้ายเมธอด ใช้สำหรับส่งค่ากลับไป โดยใช้คำว่า return ตามด้วยชื่อตัวแปรหรือค่าข้อมูลที่จะส่งกลับ ถ้าหากเมธอดที่สร้างขึ้นเป็นเมธอดที่ไม่มีการคืนค่าจะไม่มีส่วนนี้

          สำหรับเมธอดที่ไม่มีการคืนค่ามักเป็นเมธอดที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ทำงานบางอย่างที่จบได้ภายในตัวมันเอง การทำงานของเมธอดประเภทนี้จะคล้ายกับเป็นโปรแกรมย่อยโปรแกรมหนึ่ง ถ้าหากโปรแกรมหลักต้องการเรียกใช้เมธอดก็เรียกชื่อของเมธอดที่ต้องการได้ทันที และเมธอดที่สร้างขึ้นยังสามารถเรียกเมธอดอื่น ๆ เข้ามาร่วมทำงานได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสร้างเมธอดอย่างง่าย


          จากโปรแกรมเป็นการสร้างเมธอดชื่อ WelcomeMessage ที่เป็นเมธอดที่ไม่มีการผ่านค่าเข้าไป และไม่มีการคืนค่าออกมา เมื่อโปรแกรมหลัก Main ต้องการเรียกเมธอดนี้ขึ้นมาใช้งาน ก็จะเรียกชื่อเมธอด โดยเขียนว่า WelcomeMessage(); โปรแกมมก็จะทำงานทันที ผลลัพธ์จากการรันโปรแกรมเป็นดังนี้

คำสั่งการทำซ้ำแบบ for

          คำสั่ง for มักจะใช้ในการทำซ้ำที่ทราบจำนวนรอบในการทำซ้ำแน่นอน การททำงานของคำสั่งจะตรวจสอบเงื่อนไขก่อนแล้วทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จจริงออกจากการทำซ้ำ การเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งแบบ for นี้มักจะใช้ตัวแปรตัวหนึ่งเป็นตัวควบคุมการทำงาน และมีการเพิ่มค่าหรือลบค่าตัวแปรนั้น รูปแบบของคำสั่ง for เป็นดังต่อไปนี้

                               for(initialization; test_condition; step)
                               {
                                        statements;
                                        ..................
                                }
                               more statements

โดยที่                initialization                เป็นการการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรควบคุม
                          test_condition             เป็นการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าหากได้ค่าเป็นจริงจะทำงานต่อไป
                          step                             เป็นการเพิ่มค่าหรือลดค่าให้กับตัวแปรควบคุม
                          statements                   เป็นคำสั่งที่จะทำงานซ้ำในลูป

           การใช้คำสั่ง for นั้นสเตตเมนต์ต่าง ๆ ที่จะทำซ้ำจะอยู่ต่อจากคำสั่ง for ถ้าหากเป็นสเตตเมนต์รวมจะเขียนไว้ในเครื่องหมายปีกกา

           โปรแกรมนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมหาค่าผลรวมของตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง  100 โดยใช้ตัวแปร i เป็นตัวนับเลขตั้งแต่  1  ถึง 100 และใช้ตัวแปรนี้เป็นตัวแปรควบคุมในคำสั่ง for ด้วย  เพิ่มต้นโปรแกรมจะกำหนดให้ตัวแปร sum ทีค่าเป็นศูนย์ เมื่อเข้าสู่การทำซ้ำจะให้ค่าตัวแปร i เพิ่มครั้งละหนึ่งค่าแล้วนำค่าของตัวแปร sum บวกกับ i ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขทที่บอกว่า i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 จะเป็นเท็จ
เมื่อรันโปรแกรมผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นแบบนี้