วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คำสั่งการทำซ้ำแบบ for

          คำสั่ง for มักจะใช้ในการทำซ้ำที่ทราบจำนวนรอบในการทำซ้ำแน่นอน การททำงานของคำสั่งจะตรวจสอบเงื่อนไขก่อนแล้วทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จจริงออกจากการทำซ้ำ การเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งแบบ for นี้มักจะใช้ตัวแปรตัวหนึ่งเป็นตัวควบคุมการทำงาน และมีการเพิ่มค่าหรือลบค่าตัวแปรนั้น รูปแบบของคำสั่ง for เป็นดังต่อไปนี้

                               for(initialization; test_condition; step)
                               {
                                        statements;
                                        ..................
                                }
                               more statements

โดยที่                initialization                เป็นการการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรควบคุม
                          test_condition             เป็นการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าหากได้ค่าเป็นจริงจะทำงานต่อไป
                          step                             เป็นการเพิ่มค่าหรือลดค่าให้กับตัวแปรควบคุม
                          statements                   เป็นคำสั่งที่จะทำงานซ้ำในลูป

           การใช้คำสั่ง for นั้นสเตตเมนต์ต่าง ๆ ที่จะทำซ้ำจะอยู่ต่อจากคำสั่ง for ถ้าหากเป็นสเตตเมนต์รวมจะเขียนไว้ในเครื่องหมายปีกกา

           โปรแกรมนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมหาค่าผลรวมของตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง  100 โดยใช้ตัวแปร i เป็นตัวนับเลขตั้งแต่  1  ถึง 100 และใช้ตัวแปรนี้เป็นตัวแปรควบคุมในคำสั่ง for ด้วย  เพิ่มต้นโปรแกรมจะกำหนดให้ตัวแปร sum ทีค่าเป็นศูนย์ เมื่อเข้าสู่การทำซ้ำจะให้ค่าตัวแปร i เพิ่มครั้งละหนึ่งค่าแล้วนำค่าของตัวแปร sum บวกกับ i ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเงื่อนไขทที่บอกว่า i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 จะเป็นเท็จ
เมื่อรันโปรแกรมผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นแบบนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น